พระกรณียกิจ ของ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

พ.ศ. 2442 ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงรับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี

พ.ศ. 2444 ทรงย้ายเป็นปลัดกรมธนบัตร และเจริญก้าวหน้าเป็น ผู้แทนเจ้ากรมธนบัตร เจ้ากรมกองที่ปรึกษาอธิบดีกรมประสาปน์สิทธิการ อธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี อธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ทรงจัดตั้งและวางรากฐานกิจการสหกรณ์ จนในที่สุดได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์

วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส เป็นองคมนตรี[10] และในวันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 ทรงสถาปนาเป็นพระราชวรวงษ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงศักดินา 11000[11]

พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ดำรงตำแหน่งอุปนายกกรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งต่อมาได้รวมเข้ากับกรมศิลปากร ต่อมาได้เปลี่ยนจากหอสมุดสำหรับพระนครเป็น "ราชบัณฑิตยสภา"[12]

การสหกรณ์ไทย

ทรงดำริให้จัดสร้างสหกรณ์วัดจันทร์ สหกรณ์แห่งแรกของไทย[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

พระราชวรวงศ์เธอ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศนนิภาธร พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวุฒิอาภรณ์ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิไลยวรวิลาส พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารุจาวรฉวี พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญพรรณ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุนทรีนาฏ

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ http://www.oncebookk.com/shop/oncebookk/default.as... http://coop.eco.ku.ac.th/newdesign/index.php?optio... http://library.siamtech.ac.th/pdf/king22.pdf http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2432/01... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2443/02... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/02... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2447/03... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2447/03... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2451/02... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/...